กฎหมายไทย

กฎหมายไทย

ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

กฎหมายไทยมีการวิวัฒนาการมานาน เช่นเดียวกันกับกฎหมายของประเทศต่างๆ ก่อนที่ประเทศไทยจะได้ใช้ระบบประมวลกฎหมาย ไทยก็มีระบบกฎหมายใช้เป็นของตนเองเช่นกัน ซึ่งจะอยู่ในรูปของกฎหมายจารีตประเพณี ซึ่งได้ถูกปฏิบัติสืบต่อกันมาจนยอมรับว่าเป็นกฎหมายในที่สุด และก็ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในกาลต่อมา เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้รู้และปฏิบัติตาม

ความหมายและที่มาของกฎหมายประเภทของกฎหมาย ประวัติความเป็นมาของกฎหมายไทย

ความหมายของกฎหมาย

กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือผ็มีอำนาจสูงสุดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้น

มนุษย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์สังคมจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่เนื่องจากความคิด อุปนิสัย สภาพแวดล้อม เพศ ฯลฯ ที่แตกต่างกันไป จึงจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย กฎหมายบางอย่างก็กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความสงบเรียบร้อย

เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตามในแนวทางเดียวกัน ก็จะสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นอีกด้วย เหล่านี้ถือเป็นเป้าหมายอันสำคัญของสังคม ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้เมื่อคิดย้อนกลับไปแล้ว ก็จะมาจากคนในสังคมนั่นเอง

ลักษณะของกฎหมาย

กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ

กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์หรือผู้ที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้

กฎหมายต้องใช้บังคับได้โดยทั่วไป

กฎหมายต้องใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง

กฎหมายจะต้องมีสภาพบังคับ

ตามกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯนั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งฯในคราวเดียวกันก็ได้

แต่กฎหมายบางอย่างก็อาจไม่มีสภาพบังคับก็ได้ เนื่องจากไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้คนต้องปฏิบัติตาม แต่อาจบัญญัติขึ้นเพื่อรับรองสิทธิให้แก่บุคคล หรือทำให้เสียสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถทำนิติกรรมได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม หรือบุคคลที่มีอายุ 15 ปีแล้วสามารถทำพินัยกรรมได้ ฯลฯ หรือออกมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ซึ่งกฎหมายประเภทนี้จะไม่มีโทษทางอาญาหรือทางแพ่งแต่อย่างใด

ที่มาของกฎหมาย

ศีลธรรม

จารีตประเพณี

ศาสนา

คำพิพากษาของศาล

หลักความยุติธรรม

ความคิดเห็นของนักปราชญ์

ระบบกฎหมาย

ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์

ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์

ระบบกฎหมายสังคมนิยม

ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม

ส่วนประเพณีนิยมนั้น คือ สิ่งที่คนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่นในประเทศจีนก็มีการนำประเพณีนิยมของนักปราชญ์อย่าง ขงจื้อ มาเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมาย หรือประเภณีโบราณของลัทธิชินโตก็ใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

ลำดับชั้นของกฎหมายในประเทศไทย (ศักดิ์กฎหมาย)

กฎหมายแม่บทที่มีศักดิ์สูงที่สุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 

กฎหมายที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎหมายเหล่านี้ถือว่ามีศักดิ์เป็นลำดับที่สองรองจากรัฐธรรมนูญ

กฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ พะราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง

กฎหมายที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ออก ได้แก่ เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา

เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับโดยเฉพาะในแต่ละองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือในกรณีที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ทำการออกได้เช่นกัน เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานครตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น  หรือเทศบัญญัติ ก็เป็นกฎหมายที่เทศบาลบัญญัติขึ้นใช้บังคับเฉพาะในเขตเทศบาลของตน

ประเภทของกฎหมาย

การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะแห่งการใช้ เป็นการแบ่งแยกโดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้กฎหมายเป็นหลัก ได้แก่ กฎหมายสารบัญญัติ กฎหมายวิธีสบัญญัติ

แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี ได้แก่ กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน กฎหมายระหว่างประเทศ

การใช้บังคับกฎหมาย

การประกาศใช้กฎหมายเพื่อให้ประชาชนทราบ

เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบว่ามีกฎหมายใดออกมาใช้บังคับแล้ว ก็จะมีการจัดพิมพ์ ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ทุกๆสัปดาห์เพื่อประกาศให้ประชาชนและหน่วยงานราชการทราบถึงกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบข้อบังคับรวมไปถึงข้อเท็จจริงที่สำคัญอย่างใดๆหรือข้อเท็จจริงซึ่งมีกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อมีการประกาศแล้วให้ถือว่าประชาชนทุกคนทราบโดยถ้วนหน้ากัน ประชาชนจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ ดังที่มีหลักทั่วไปในการใช้บังคับกฎหมายว่า ความไม่รู้กฎหมาย ไม่เป็นข้อแก้ตัว

วันเริ่มใช้กฎหมาย

ก็คือวันที่กำหนดให้กฎหมายที่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลบังคับใช้นั่นเอง โดยปกติเมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายก็จะมีการกำหนดวันใช้บังคับไว้ในกฎหมาย ซึ่งก็มีดังนี้

กำหนดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใดก็มีผลใช้บังคับในวันนั้นทันที ใช้ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนหากใช้บังคับล่าช้าไปอาจทำให้มีผลเสียหายเกิดขึ้นได้

ให้ใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือมีผลใช้บังคับถัดในวันถัดไปหลังจากวันที่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสทราบล่วงหน้าก่อนหนึ่งวัน ซึ่ง เป็นวิธีที่ใช้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ

กำหนดให้ใช้ในอนาคต คือกำหนดให้มีผลใช้บังคับภายหลังที่มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหลายๆวัน เพื่อให้ทางราชการ เจ้าพนักงานและประชาชนเตรียมพร้อมหรือที่จะปฏิบัติตามกฎหมายนั้น

ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดวันใช้บังคับไว้ คือมีการประกาศให้ประชาชนทราบแต่ไม่ได้กำหนดว่ากฎหมายที่ประกาศนั้นจะให้มีผลใช้บังคับเมื่อใด วันที่มีผลใช้บังคับอาจกำหนดขึ้นตามมาภายหลัง

กฎหมายจะไม่มีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษ คือ เมื่อมีกฎหมายใหม่ออกมาหรือมีการแก้ไขกฎหมายในทางที่เป็นโทษแก่บุคคลใด ก็จะมีผลตั้งแต่วันที่กำหนดให้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไปเท่านั้น จะไม่มีผลย้อนไปก่อนวันที่กำหนดให้กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ

สถานที่ใช้กฎหมาย

กฎหมายย่อมใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักรเว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะว่ากฎหมายใดให้ใช้เฉพาะในท้องที่ใด หรือให้ใช้บังคับแก่การกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร เช่น ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พ.ศ. 2498 กำหนดว่าในการพิจารณาวินิจฉัยคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามของศาลชั้นต้นในเขต  4 จังหวัด ให้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือการกระทำความผิดบางประเภทที่ได้กระทำขึ้นนอกราชอาณาจักร ก็อาจถูกลงโทษในราชอาณจักรได้ เช่น ความผิดฐานปลอมแปลงเงินตรา

บุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ

โดยทั่วไปแล้วกฎหมายย่อมใช้บังคับแก่บุคคลในสังคม แต่ก็มีข้อยกเว้นแก่บุคคลบางประเภทซึ่งกฎหมายไม่อาจใช้บังคับด้วยได้ แต่บุคคลเหล่านั้นต้องมีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้โดยชัดแจ้ง เช่น

ตามกฎหมายไทย รัฐธรรมนูญกำหนดว่ากฎหมายจะไม่ใช้บังคับแก่พระมหากษัตริย์ เพราะถือว่าทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ ผู้ใดจะฟ้องพระมหากษัตริย์เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ทั้งสิ้น 

ตามกฎหมายอื่น เช่น ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าจะไม่ใช้กฎหมายภายในประเทศของตนบังคับแก่ ฑูต บุคคลในคณะฑูตหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่บุคคลดังกล่าว

การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง

ก็คือการนำบทบัญญัติของกฎหมายไปปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และสรุปออกมาว่าจะมีผลทางกฎหมายอย่างไรบ้างนั่นเอง  ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในภายหลัง

ความสำคัญของกฎหมาย

กฎหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม

เป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารประเทศ

เป็นตัวกำหนดความสำคัญของตัวบุคคล

เป็นเครื่องมือในการรักษาความสงบเรียบร้อย ในสังคม

ลักษณะของกฎหมาย

กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฏฐาธิปัตย์กำหนดขึ้นจากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในรัฐ

เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปในประเทศนั้นๆ

เป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป

กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ คือ ต้องมีการกำหนดความผิด

ระบบกฎหมายโลก

ระบบ Common Law คือกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น คำพิพากษาของศาลหรือจารีตประเพณี กลุ่มประเทศที่ใช้ ได้แก่ สหรัฐอมริกา อังกฤษ

ระบบ Civil Law หรือระบบประมวลกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายจะถูกตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ส่วนศาลจะเป็นผู้ใช้กฎหมาย กลุ่มประเทศที่ใช้ ได้แก่ ฝรั่งเศษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ไทย

ประเภทของกฎหมาย

กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน

กฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ

ลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทย

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

กฎหมายที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อขยายความของรัฐธรรมนูญบางมาตราให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนแลัสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา

พระราชบัญญัติมีบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่นๆ

ประมวลกฎหมาย

ประมวลกฎหมาย กฎหมายที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน เพื่อง่ายต่อการใช้อ้างอิง และการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายต้องตราเป็น พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายที่สำคัญ ได้แก่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายอาญา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ประมวลกฎหมายที่ดิน

ประมวลรัษฎากร

พระราชกำหนด

พระราชกำหนด คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่บทของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นเดียวพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ

พระราชกำหนด มีระยะเวลาจำกัดถ้าผ่านสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วต้องนำเข้ารัฐสภาพิจารณาโดยไม่ชักช้า

พระราชกฤษฎีกา

พระราชกฤษฎีกา บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทางตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของรัฐมนตรี

กำหนดวันเริ่มต้นบังคับใช้พระราชบัญญัติ

กำหนดสถานที่ กิจการ หรือสิ่งของที่พระราชบัญญัติจะบังคับใช้

กำหนดสถานที่ กิจการ หรือสิ่งของที่พรัราชบัญญัติจะบังคับใช้

กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดบริหารราชการแผ่นดิน

กฎกระทรวง

กฎกระทรวง เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ หรือแห่งกฎหมายที่มีฐานะเสมอกัน

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต

กำหนดแบบคำขอ แบบคำร้อง และแบบใบอนุญาต

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธียื่นอุทธรณ์ วิธีพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการตามกฎหมาย

ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งของกระทรวง

เป็นกฎหมายที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายต่างๆ

กำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเทคนิค

กำหนดระยะเวลาการบังคับใช้บทบัญญัติของกฎหมาย 

ข้อบัญญัติท้องถิ่น

ข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ได้แก่

กฎหมายที่ตราโดยกรุงเทพมหานคร เรียกว่า ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

กฎหมายที่ตราโดยเมืองพัทยา เรียกว่า ข้อบัญญัติเมืองพัทยา

กฎหมายที่ตราโดยเทศบาล เรียกว่า ข้อบัญญัติเทศบาล

กฎหมายที่ตราโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด

กฎหมายที่ตราโดยองค์การบริหารส่วนตำบล เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล 

หมายเหตุ

หากเป็นกรณีที่กฎหมายแม่บทได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีออกฎหมายลำดับรองได้แต่มิได้ระบุว่าให้ออกเป็นคำสั่งกรมม ประกาศกรม ระเบียบกรม หรือข้อบังคับกรม ไว้แต่ประการใดหรือเป็นกรณีที่กฎหมายแม่บทนั้นๆ มิได้บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่อธิบดีใช้อำนาจทางบริหารแทนกรณีเช่นนี้ต้องพิจารณาจากเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่จะให้มีผลบังคับ โดยจะต้องแยกพิจารณา เป็น 2 ประเด็น โดยอาศัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ดังนี้

กรณีเป็นลักษณะสั่งการ หนังสือสั่งการ แบ่งออกไปเป็น 3 ชนิด

คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย

ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้วางไว้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ

ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้

กรณีเป็นลักษณะประชาสัมพันธ์ หนังสือประชาสัมพันธ์ แบ่งออกไปเป็น 3 ชนิด

ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ

แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน

ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ