ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของสุรินทร์
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สุรินทร์
สุรินทร์มีชื่อเสียงในด้านชายหาดที่สวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรม และวัฒนธรรมช้าง สิ่งที่คุณสามารถทำได้ในสุรินทร์คือ:
เยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวสุรินทร์
สำรวจอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ที่ซึ่งคุณสามารถเพลิดเพลินกับชีวิตทางทะเล แนวปะการัง และเต่าทะเล
ชมการปัดเศษช้างสุรินทร์ ซึ่งเป็นเทศกาลประจำปีที่เฉลิมฉลองความผูกพันระหว่างมนุษย์กับช้าง
สัมผัสประสบการณ์อาหารท้องถิ่น เช่น ไส้กรอกสุรินทร์ ข้าวเหนียว ไก่ย่าง
เลือกซื้องานหัตถกรรม เช่น ผ้าไหมและเงินที่ตลาดกลางคืนสุรินทร์พลาซ่า หรือหมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินาริ่ง
ข้อมูลแนะนำที่เป็นประโยชน์ของสุรินทร์
ข้อมูลของสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ประมาณ 5 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่อันดับ 24 ของประเทศ โดยมีพื้นที่ทางตอนใต้บริเวรติดต่อกับอาณาจักรกัมพูชา เป็นป่าทึบและมีภูเขาสูง และยังซับซ้อน เป็นบริเวรกว้าง แต่ส่วนของทางตอนกลางของจังหวัดนั้นจะเป็นพื้นที่ราบลุ่มโดยส่วนใหญ่ ทางส่วนเหนือจะเป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำ มีลำน้ำที่สำคัญ คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี และห้วยเสนง และแม่น้ำต่างจะไหลผ่านหลายจังหวัดละอำเภอต่างๆ และยังมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และยังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนในยุคขอมเรืองอำนาจในภูมิภาคนี้ ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลง จึงถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลานาน และเป็นอีกหนึ่งจังหวัดชายแดนอีสานตอนล่าง หรือเรียกว่า อีสานใต้ ซึ่งเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆมากมาย
อาณาเขตของจังหวัดสุรินทร์
ทิศเหนือ อยู่ติดกับ จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดบุรีรัมย์
ตราประจําจังหวัดสุรินทร์
ตราประจำจังหวัดสุรินทร์ คือ รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่หน้าปราสาทหินศีขรภูมิ
ต้นไม้ประจําจังหวัดสุรินทร์ คือ ต้นกันเกรา
ดอกไม้ประจําจังหวัดสุรินทร์ คือ ดอกกันเกรา
พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจําจังหวัดสุรินทร์ คือ ต้นมะค่าแต้
คำขวัญจังหวัดสุรินทร์
สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม
เทศกาลและประเพณี
งานแสดงช้างสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์นั้นมีช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ ในอดีตได้จับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานในด้านต่างๆ เช่น การพาหนะ การขนส่ง รวมถึงช้างยังมีบทบาทในการประกอบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรม ทำให้มีการจัดการแสดงช้างครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และกลายเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างชาติเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน งานนี้จัดช่วงประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน ชวนให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมาย มีกิจกรรมเกี่ยวกับช้างและคนเลี้ยงช้าง พร้อมการแสดงท้องถิ่นอันน่าประทับใจของชาวเมืองสุรินทร์
ประเพณี
ประเพณีบวชนาคช้าง
ประเพณีบวชนาคช้าง นับเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีเอกลักษณ์ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นที่บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวกูย หรือ ชาวกวย ซึ่งเป็นชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตระหว่างคนกับช้าง ที่ได้สืบทอดวิถีชีวิตจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี
ประเพณีขึ้นเขาสวาย เคาะระฆังพันใบ ไหว้ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ประเพณีขึ้นเขาสวาย เคาะระฆังพันใบ ไหว้ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวสุรินทร์ส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับประเพณี เมื่อถึงเดือนห้าชาวสุรินทร์จะถือว่าเป็นประเพณีหยุดงาน ในทุกปีชาวจังหวัดสุรินทร์จะร่วมมือร่วมใจจัดงานบุญประเพณีขึ้นเขาสวาย เพื่อทำการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 9 สิ่ง เพื่อให้เป็นสิริมงคลกันอีกด้วย
ประเพณีการกวนข้าวทิพย์
ชาวบ้านในชุมชนทุกหมู่บ้านในพื้นที่สามัคคีร่วมแรงใจพากันช่วยตำข้าวเม่าแบบโบราณ เพื่อเตรียมเอาไว้ในงานประเพณีกวนข้าวทิพย์ พิธีกวนข้าวทิพย์ 25 กระทะ ตามพิธีกรรมแบบโบราณ เมื่อก่อนชาวนาชอบตำข้าวเม่าทานกัน เป็นขนมหรือเป็นอาหาร การตำข้าวเม่าเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน แต่ปัจจุบันหาดูยากมาก จะมีเฉพาะบางพื้นที่หรือบางหมู่บ้านเท่านั้นที่ยังสืบสานฟื้นฟูวัฒนธรรม
ประพณีการแต่งงาน
เป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนทุกคนเพราะเป็นวันแห่งการสร้างสถาบันครอบครัว สร้างอาชีพ สร้างทายาทของวงศ์ตระกูล การแต่งงานของชาวสุรินทร์นั้นเน้นการขอบคุณและระลึกถึงเทพ ผีบรรพบุรุษและยังไม่ละทิ้งตำนานและความเชื่อเรื่องความรัก และในขบวนแห่นั้นเต่าเป็นสัญลักษณ์แทนความเชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ จึงจัดเข้าเป็นส่วนประกอบของการแห่
ประเพณีแซนโฎนตา
ประเพณีแซนโฎนตามีความเป็นมายาวนานนับพันปี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศ เพื่อให้บาปกรรมทุกอย่างได้เบาบางลงไป ให้ลูกหลานได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ประกอบกิจการอะไรก็ประสบผลสำเร็จทุกประการ ซึ่งก็เป็นความเชื่อของชาวสุรินทร์ที่สืบทอกต่อกันมายาวนาน
ทำไมจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวัดสุรินทร์
ได้รับรู้การใช้ชีวิตของคนในจังหวัดสุรินทร์
สามารถแรับรู้การทำงานของเกษตรกร
ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
ได้รับรู้วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ
ภาษาของชาวสุรินทร์
ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของจังหวัดสุรินทร์
ภาษาเขมรเหนือ หรือ เขมรสูง (เขมรถิ่นไทย)
ภาษาเขมรกลาง เป็นภาษาของผู้ที่อยู่ใน กัมพูชา
ภาษาเขมรใต้ เป็นภาษาของคนเวียดนามเชื้อสายเขมร