ธนบัตรในประเทศไทย
ธนบัตรในประเทศไทย
ธนบัตรประเทศไทย เริ่มมีการใช้ในสมัยรัชกาลพระบาสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีการใช้ เงินกระดาษ เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่ได้เรียกว่า ธนบัตร ใช้คำว่า หมาย เรียกแทน โดยออกใช้เมื่อ พ.ศ. 2396 และคงใช้ต่อมาทั้งสิ้น 3 รุ่น ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ ตั๋วกระดาษ ราคา 1 อัฐ เพื่อใช้แทนเงินเหรียญกษาปณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า อัฐกระดาษ ที่ใช้เรียกขานกันในหมู่ประชาชน ต่อมาทรงอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสาขาดำเนินงานในประเทศไทย คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาเตอรด์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ให้สามารถออกธนบัตรของตัวเองได้ เรียกว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ นับว่าเป็น บัตรธนาคาร รุ่นแรกๆ ที่มีใช้ในประเทศไทย จนถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงทรงให้ยกเลิก และประกาศใช้ ธนบัตร แบบแรกของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
เหรียญ
เหรียญ เป็น วัตถุชนิดแข็ง ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะ หรือ พลาสติก และมีลักษณะเป็น แผ่นกลม มีการนำเหรียญ มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ใช้เป็นเงินตรามีมูลค่าสำหรับแลกเปลี่ยน เรียกว่า เหรียญกษาปณ์ ผลิตแจกจ่ายโดยรัฐบาล เหรียญถูกใช้ในรูปของเงินสดในระบบการเงินสมัยใหม่เช่นเดียวกับธนบัตร แต่ใช้ในหน่วยที่มีมูลค่าต่ำกว่า ขณะที่ธนบัตรจะถูกใช้ในหน่วยที่มีมูลค่าสูงกว่า โดยปกติ ค่าสูงสุดของเหรียญจะต่ำกว่าค่าต่ำสุดของธนบัตร มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนของเหรียญมาจากมูลค่าทางด้านประวัติของมัน และ หรือ มูลค่าที่แท้จริงของโลหะที่เป็นส่วนประกอบ
เงินตรา
เงินตรา หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใดๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้ในประเทศหรือในบริษัทสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆตามตัวบทกฎหมาย หน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน เป็นหน่วยวัดมูลค่า เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่าและบางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ล่วงหน้า วัตถุหรือเอกสารที่ตรวจสอบได้และปลอดภัยใดๆ ซึ่งสามารถทำหน้าที่เหล่านี้ล้วนเป็นเงินทั้งสิ้น เงินถือกำเนิดขึ้นเป็นเงินที่เป็นสิ่งของ แต่ระบบเงินร่วมสมัยแทบทั้งหมดเป็นแบบเงินกระดาษ เงินกระดาษนั้นปราศจากมูลค่าใช้สอยแท้จริงเฉกเช่นสินค้าทางกายภาพ และค่าของเงินกระดาษมาจากการประกาศของรัฐบาลให้เป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย นั่นคือ เงินนั้นจะต้องได้รับการยอมรับให้เป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนภายในอาณาเขตของประเทศ กับ หนี้สินทั้งหมด ทั้งหนี้สาธารณะและเอกชน
ประเภทของธนบัตรไทย มี 16 แบบ/h2>
แบบที่1 มี 1 5 10 20 50 100 1000 บาท เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
แบบที่2 มี 1 5 10 20 100 1000 บาท เริ่มมีการพิมพ์เส้นนูน
แบบที่3 มี 1 5 10 20 บาท มีพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 7
แบบที่4 มี 1 5 10 20 100 1000 บาท ได้เริ่มใช้คำว่า รัฐบาลไทย แทนคำว่า รัฐบาลสยาม
แบบที่5 มี 50 สตางค์ และ 1 5 10 20 100 1000 บาท พิมพ์จากประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากอยู่ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงไม่สามารถสั่งพิมพ์จากบริษัทโทมัสเดอลารูได้
แบบที่6 มี 20 100 บาท พิมพ์โดย กรมแผนที่ทหารบก และ กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ โดยใช้วัตถุดิบเท่าที่หาได้ในประเทศ เนื่องจากสงครามทวีความรุนแรงขึ้น ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถขนส่งธนบัตรมาได้ ธนบัตรชุดนี้จึงมีคุณภาพต่ำและมีการปลอมแปลงกันมาก แต่ก็สามารถช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนธนบัตรได้ตลอดช่วงสงคราม
แบบที่7 มี 1 5 10 50 บาท พิมพ์ในประเทศไทย โดยโรงพิมพ์เอกชนที่มีผลงานอยู่ในระดับมาตรฐานขณะนั้น โดยการแยกพิมพ์ตัวธนบัตร หมวดหมายเลข และลายเซ็นคนละแห่งกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการพิมพ์อย่างใกล้ชิด แต่เนื่องจากในช่วงปลายสงครามซึ่งกระดาษและหมึกพิมพ์มีอยู่อย่างจำกัด คุณภาพและสีของธนบัตรจึงไม่ดีเท่าที่ควร และจากขนาดธนบัตรที่เล็กกว่าธนบัตรทั่วๆ ไป ในขณะนั้น บางครั้งประชาชนจึงเรียก แบงก์ขนมโก๋
แบบที่8 มี มี 5 ชนิด ราคา 1 5 10 20 100 บาท พิมพ์โดย บริษัท The Tudor Press จากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากบริษัทโทมัสเดอลารูได้รับความเสียหายจากสงคราม ไม่มีเส้นนูนและลายน้ำ ในสมัยนั้นมีการปลอมแปลงธนบัตรกันมาก
แบบที่9 มี 50 สตางค์ และ 1 5 10 20 100 บาท พิมพ์โดย บริษัทโทมัสเดอลารู
แบบที่10 มี ราคาเดียว100 บาท มีเส้นนูน มีหลายสี มีลายไทย เนื่องจากมีการปลอมแบบ 9 ราคา 100 บาท อย่างมากมาย
แบบที่11 มี มี 5 ชนิดราคา 5 10 20 100 500 บาท พิมพ์ในประเทศไทย โดยโรงพิมพ์ธนบัตร ที่จัดตั้งขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
แบบที่12 มี 3 ชนิด ราคา 10 20 100 บาท ด้านหลังมีภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่เป็นมหาราช
แบบที่13 มี 2 ชนิด ราคา 50 500 บาท เพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ธนบัตร 50 บาท ภาพประธานด้านหน้า พระฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย
แบบที่14 มี 3 ชนิด ราคา 100 500 1000 บาท ออกฉบับละ 1000 บาท เพื่อสนองต่อการใช้เงินจำนวนมาก ภาพประธานด้านหลงของชนิดราคาพันบาท มีพระฉายาลักษณ์ ทั้งสองพระองค์
แบบที่15 มี ราคา 20 50 100 500 1000 บาท เป็นธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ๋โดยในช่วงท้ายๆของชุดที่ 15 ธนบัตร 50 บาทได้เปลี่ยนรูปแบบธนบัตรจากโพลิเมอร์เป็นกระดาษธรรมดาเพื่อลดต้นทุนและป้องกันไม่ให้วัสดุที่ผลิตธนบัตรมีค่ากว่าราคาธนบัตร และธนบัตร1000 บาทได้เพิ่มแถบสีเงิน เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและไม่ได้พิมพ์ธนบัตร10บาท
แบบที่16 มี 20 50 100 500 1000 บาท เป็นธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันด้านหลังมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่เป็นมหาราช
แบบที่17 มี 5 ชนิด ราคา 20 50 100 500 1000 บาท มีแนวคิดในการออกแบบเพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ในทุกด้าน เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข นำความร่มเย็นมาสู่อาณาประชาราษฎร์และชาติบ้านเมือง