เราใช้คุกกี้เพื่อให้บริการและคุณสมบัติที่นำเสนอบนไซต์ของเราและเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเราขอเชิญคุณปรึกษาเรา นโยบายคุกกี้. ดำเนินการต่อ

การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติ

การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติ

หลักการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทย

การเป็นเจ้าของที่ดินตามกฎหมายครอบครองที่ดินหรือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การปฏิรูปที่ดิน สำหรับการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยถึงแม้ว่าจะเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติมากเพียงใด แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองได้อย่างเสรี โดยมีการออกกฎหมายขึ้นมาเพื่อจำกัดสิทธิการถือครอง

อสังหาริมทรัพย์ไทยกับชาวต่างชาติ

การถือกรรมสิทธิ์อสังหาฯ โดยชาวต่างชาติ

ชาวต่างชาติไม่มีสิทธิ์ครอบครองกรรมสิทธิ์ผืนแผ่นดินไทย

ชาวต่างชาติสามารถซื้ออาคารชุดได้ ในสัดส่วนไม่เกิน 49% ของพื้นที่อาคารทั้งหมด

หากชาวต่างชาติสมรสกับชาวไทย จะสามารถซื้อที่ดินได้ แต่ต้องเป็นชื่อคู่สมรสชาวไทยเท่านั้น

อสังหาริมทรัพย์ที่ชาวต่างชาติสามารถซื้อได้มีอยู่ 3 ประเภทคือ

คอนโดมิเนียมหรืออาคารชุด

อาคารที่ไม่ติดกับพื้น ซื้อเฉพาะห้อง

ที่ดินและอาคารทุกชนิดที่ได้จดทะเบียนสัญญาเช่าแบบระยะยาวมากกว่า 30 ปีขึ้นไป

คอนโดมิเนียม

ชาวต่างชาติสามารถซื้อคอนโดมิเนียมได้เท่าที่ต้องการ แต่ต้องไม่เกิน 49% ของพื้นที่ทั้งหมดในอาคารนั้น

ผู้ซื้อชาวต่างชาติจะต้องขอจดหมายรับรองสัดส่วนต่างชาติจากนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งจะต้องนำไปยื่นกับกรมที่ดินเพื่อใช้ในการโอนกรรมสิทธิ์

ต้องชำระค่าคอนโดมิเนียมทั้งหมดด้วยเงินสกุลต่างประเทศ 100% และโอนมาจากธนาคารต่างประเทศ พร้อมแนนบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศจากธนาคารเป็นหลักฐานการโอนเงินเพื่อนำไปแสดงต่อที่ทำการที่ดิน เพื่อป้องกันการฟอกเงิน

บ้าน และ ที่ดิน

ตามปกติแล้วชาวต่างชาติไม่สามารถถือครองกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินได้ ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้

แต่งงานกับคนไทย – สามารถใช้ชื่อคนไทยในการซื้อบ้าน/ที่ดินได้ แต่เงินที่นำมาซื้อบ้าน/ที่ดินนั้น จะต้องเป็นสินส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งวิธีนี้จะจะไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้จริง เพราะเป็นชื่อของคู่สมรสคนไทย

ทำสัญญาเช่าระยะยาว – ทำสัญญาเช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี หมายถึงการไม่ได้เป็นเจ้าของจริงๆ แต่ก็ยังได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการดูแลเป็นระยะเวลา 30 ปี และยังสามารถต่อสัญญา 30 ปีได้อีก 2 ครั้ง รวมเป็นระยะเวลาทั้งหมด 90 ปี

จัดตั้งบริษัทสัญชาติไทย – จัดตั้งบริษัทโดยที่ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ 49% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท อีก 51% ให้ถือโดยบุคคลหรือนิติบุคคลสัญชาติไทย ซึ่งในฐานะกรรมการบริษัท ชาวต่างชาติมีสิทธิสามารถควบคุมการลงมติของหุ้นส่วนอื่นๆได้ และยังสามารถควบคุมการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้เช่นกัน

ชาวต่างชาติกับมรดกที่ดิน

คนต่างชาตมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 93 โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีในการได้มาซึ่งที่ดินนั้น แต่เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้วไม่เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ตามความในมาตรา 87 

ถ้าสัญญาซื้อขายที่ฝ่าฝืนมาตรา 86 ถือว่ามีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150

การขอได้มาซึ่งที่ดินของหญิงไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติ

หลักเกณฑ์การขอได้มาซึ่งที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติ

คนไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างชาติ มีสิทธิรับโอนที่ดินในฐานะที่เป็น สินส่วนตัว กรณีมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างชาติ และในฐานะที่เป็น ทรัพย์ส่วนตัว กรณีมี คู่สมรสที่มิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างชาติ ได้โดยไม่จำกัดจำนวนเนื้อที่ โดยมีหลักเกณฑ์

กรณีรับให้ที่ดิน เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า เป็นการรับให้ในฐานะที่เป็น สินส่วนตัวของคนไทย กรณีมี คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างชาติ หรือเป็นทรัพย์ส่วนตัวของคนไทย กรณีมีคู่สมรสที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างชาติ พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้กับผู้ขอต่อไป

กรณีซื้อที่ดิน

กรณีคู่สมรสต่างชาติอยู่ในประเทศไทย

กรณีคนต่างชาติเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนไทยและคู่สมรสต่างชาติยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกัน ในหนังสือรับรอง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมว่า เงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรส

กรณีคนต่างชาติเป็นคู่สมรสที่มิชอบด้วยกฎหมายให้คนไทยและคู่สมรสต่างชาติยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกัน ในหนังสือรับรอง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ว่า เงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นทรัพย์ส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน